นักวิจัยแห่ง Cambridge ใช้ VR เพื่อการวิจัยเรื่องเนื้องอก

ทางออกของการรักษามะเร็งด้วยเทคโนโลยี VR

เข้าสู่ปี 2019 เสียที แต่การวิจัยเพื่อมวลมนุษยชาติก็ยังไม่จบ สำหรับใครที่กลัวในเรื่องของมะเร็งก็สมควรติดตามกันนะครับ เพราะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้นำเทคโนโลยี Virtual Reality เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและจะทำให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์และหาทางรักษาผู้ป่วยได้ในอนาคต

หน่วยวิจัยเฉพาะด้านโรงมะเร็งแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หรือ CRUK ได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นมาตัวหนึ่ง โดยวิธีการทำงานของโปรแกรมตัวนี้จะใช้ตัวอย่างชิ้นเนื้อของผู้ป่วยที่เข้ารักษามาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมพิเศษ ซึ่งจะมีการสร้างวัตถุแบบ 3 มิติและจะแสดงผลในรูปแบบ VR เพื่อให้เหล่านักวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเพื่อสรุปผลในขั้นตอนต่อไปได้ นอกจากนั้นตัวโปรแกรมพิเศษที่ถูกพัฒนาชขึ้นมานี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับแพทย์หรือนักวิจัยที่ทำงานอยู่ห่างไกล เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำเพื่อหาทางรักษาโรคที่ถูกต้องและแม่นยำ

สำหรับโรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงและคร่าชีวิตผู้คนได้มากเป็นลำดับต้นๆ และเป็นโรคที่ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ โดยวิธีการรักษานั้นทางแพทย์จะใช้ชิ้นเนื้อบางส่วนของผู้ป่วยเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องแล็ปก่อนที่จะสรุปผล แต่ในปัจจุบันนี้ยังมีการรักษาที่ยังไม่ครบ 100% แต่โปรแกรมตัวนี้ที่พัฒนาขึ้นมาจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้แพทย์และนักวิจัยสามารถรักษาผู้ป่วยได้ตามอาการที่เป็นและสามารถวางแผนเพื่อการรักษาผู้ป่วยได้ รวมไปถึงการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษาภายในอนาคตและใช้เป็นตัวอย่างเพื่อการรักษาผู้ป่วยรายอื่นๆต่อไป

VRTumourGraphic2
ขั้นตอนการทำงานวิจัยเนื้องอกและมะเร็งด้วยเทคโนโลยี VR

เป็นเรื่องดีมากเลยที่วงการแพทย์และเทคโนโลยี Virtual Reality นั้นสามารถไปด้วยกันได้ หวังว่าวิธีนี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาโรคร้ายเหล่านี้ให้ผู้ป่วยกลับมาหายดีดังเดิมและเป็นตัวอย่างในการรักษาโรคอื่นๆในอนาคตค่อไปนะครับ